ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (สพบ.)



โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของสำนัก

อำนาจหน้าที่

(๑) เสนอแนะนโยบาย ประสาน และส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบอุดมศึกษา ในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยกับผู้รับบริการ ผู้ประกอบการ ท้องถิ่น และชุมชน
(๒) จัดทำหลักสูตร และประสาน ส่งเสริมให้มีการจัดฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูง สายวิชาการ และผู้บริหารสายสนับสนุนวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นเครือข่ายที่จะพัฒนาระบบบริหาร ของสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
(๓) จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ ให้คำปรึกษาแนะนำและติดตามประเมินผลการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบ งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนิติการ)
(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

หน้าที่กลุ่มงาน/ฝ่าย

กลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา

๑. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การผลิต และการพัฒนากำลังคนในสถาบันอุดมศึกษา
๒. ศึกษา วิเคราะห์และกำหนดมาตรฐานภาระงานของคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา
๓. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับค่าตอบแทนและกรอบอัตรากำลังของบุคลากรอุดมศึกษา
๔. เสนอแนะรูปแบบและกลไกในการผลิตและพัฒนากำลังคนในสถาบันอุดมศึกษา
๕. ส่งเสริมและพัฒนากลไกในการผลิตนักวิจัยให้ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ
๖. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การผลิต และการพัฒนากำลังคนในสถาบันอุดมศึกษา

กลุ่มพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา

๑. ศึกษา วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา
๒. วิเคราะห์เพื่อพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา
๓. จัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา
๔. ศึกษา วิเคราะห์และดำเนินการจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาคณาจารย์
๕. ติดตามประเมินผลการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา
๖. พัฒนาระบบสารสนเทศทุนพัฒนาคณาจารย์

กลุ่มมาตรฐานการบริหารงานบุคคล

๑. กำหนดและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการกำหนดตำแหน่งของบุคลากรสายวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
๒. ศึกษาวิเคราะห์ กำกับ ติดตามการดำเนินการกำหนดตำแหน่งของบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
๓. ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
๔. พัฒนาและกำกับดูแลระบบสารสนเทศของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของประเทศ
๕. กลั่นกรองการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ

กลุ่มฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล

๑. ศึกษาวิเคราะห์ กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา
๒. ศึกษาวิเคราะห์ กำกับ ติดตาม การดำเนินตามมาตรฐานการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา
๓. ศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนาระบบ และกำกับดูแลค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และทะเบียนประวัติของบุคลากรอุดมศึกษา
๔. ศึกษาวิเคราะห์ และกลั่นกรองการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี นายกสภาฯกรรมการสภาฯ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
๕. ศึกษาวิเคราะห์ และกลั่นกรองการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสถาบันอุดมศึกษา

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

๑. ดูแลงานด้านธุรการทั่วไป และระบบสารบรรณอิเลคทรอนิกส์
๒. จัดหาและดูแลรักษาพัสดุสำนักงาน
๓. กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของสำนัก
๔. ดูแลสถานที่และสภาพแวดล้อมของสำนักงาน
๕. ประสานงานด้านบุคลากร
๖. เป็นฝ่ายสนับสนุนการดำเนินการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ

โครงสร้างตามที่ปฏิบัติงานในสำนัก



งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ (๓๓๙.๕๒ ล้านบาท)

ลำดับที่ โครงการ งปม. ที่ได้รับจัดสรร
โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๖๑,๘๖๕,๑๐๐
โครงการทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ อาจารย์รุ่นกลาง วุฒิเมธีวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส และศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ๙๐,๙๓๔,๗๐๐
โครงการทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศ ๔๘,๕๗๕,๖๐๐
โครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ๕๔,๙๗๕,๐๐๐
ค่าใช้จ่ายการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ๖,๙๐๐,๐๐๐
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ๘๐๐,๐๐๐


คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.)

อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ.

(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
(๓) กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
(๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึ่งใช้เพื่อการบริหารงานบุคคล ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน
(๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง
(๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๘) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและ กำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง
(๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา
(๑๐)ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

องค์ประกอบ ก.พ.อ.

(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
(๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคน แต่ไม่เกินสิบคน
(๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ
(๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ

วาระการดำรงตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีวาระในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับ แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ถูกจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี

แหล่งอ้างอิง

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑

คณะอนุกรรมการที่ทำการแทน ก.พ.อ. มีดังนี้

๑. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
๒. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
๓. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
๔. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบอุดมศึกษา
๕. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับคุณวุฒิ
๖. คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบราชการ

คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ จำนวน ๓ ชุด

๑. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางการดำเนินการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
๒. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....
๓. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อจัดทำข้อเสนอในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ให้ความเห็นชอบการกำหนดตำแหน่งและจำนวนตำแหน่งที่จะให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (สพบ.) (ชั้น ๕)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรสาร ๐-๒๓๕๔-๕๕๔๐, ๕๕๔๑, ๕๕๔๘
โทรศัพท์
ผู้อำนวยการสำนักฯ ๐-๒๖๑๐-๕๓๓๓
ผู้เชี่ยวชาญฯ ๐-๒๖๑๐-๕๓๐๐
หน้าห้อง ผอ.สำนักฯ ๐-๒๖๑๐-๕๓๓๔
กลุ่มงาน
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ๐-๒๖๑๐-๕๓๓๒, ๕๓๑๗
กลุ่มพัฒนาศักยภาพฯ ๐-๒๖๑๐-๕๓๐๑, ๕๓๑๖, ๕๓๒๖ - ๒๙, ๕๒๔๐, ๕๓๘๕ - ๘๖
กลุ่มนโยบายฯ ๐-๒๖๑๐-๕๒๒๒, ๕๒๙๙, ๕๓๓๐ - ๓๑
กลุ่มมาตรฐานฯ ๐-๒๖๑๐-๕๓๐๓, ๕๓๒๑ – ๒๕, ๕๓๓๕ -๓๘
กลุ่มฐานข้อมูลฯ ๐-๒๖๑๐-๕๓๐๒, ๕๓๑๘ – ๒๐, ๕๓๓๙, ๕๓๔๐ - ๔๒